การโกหกส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวันเป็นการโกหกเพื่อการเอาตัวรอดหรืออาจโกหกรักษาความรู้สึกของผู้อื่น บางคนตั้งใจโกหก แต่หลายครั้งๆมากเข้าจะติดมาเป็นนิสัย มากกว่าจะเป็นไปเพื่อการหลอกลวงหรือคิดร้าย แต่ในหลายๆครั้งที่เราเองก็อยากรู้ว่าสิ่งที่เราได้ยิน เป็นความจริง หรือโกหกกันแน่ วันนี้เรามาดูวิัธีจับโกหกจาก 5 พฤติกรรม
1.พฤติกรรมไม่สบตา เป็นพฤติกรรมอย่างแรกที่พิสูจน์ได้เลยว่า เขากำลังโกหกคุณอยู่ หรือสบตาบ่อยเกินไป ยิ่งถ้าคนที่กำลังโกหกเห็นว่าคุณกำลังจะจับโกหกเค้าอยู่ เค้ามักจะจ้องมองลงไปที่พื้นหรือหลีกสายตาไม่ยอมมองมาทางคุณ บางคนจ้องมาที่หน้าของคุณอย่างตั้งอกตั้งใจ เพราะเค้าคิดว่าเค้ากำลังทำการสบตากับคุณเพื่อทำให้คำโกหกเค้ามันน่าเชื่อถือมากขึ้น (บางคนก็จ้องหน้า จ้องจมูก จ้องปาก แต่ไม่ได้จ้องตาเรา)
2.พฤติกรรมเอามือปิดปาก
ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นโดยเราไม่รู้ตัว และเหมือนกับเป็นจิตใต้สำนึกที่มักจะบอกให้เรา ปิดบังในสิ่งที่เราโกหกออกไป ซึ่งการเอามือปิดปากนั้น อาจจะเป็นในหลายรูปแบบค่ะ เช่น ทั้งมือ หรือ บางนิ้ว หรือแม้กระทั่งการไอและเอามือปิดปาก บางครั้งการนำมือขึ้นมาปิดปาก ก็อาจจะหมายถึงการที่ผู้พูดกำลังปิดบังบางอย่างจากผู้ฟังก็ได้ค่ะ
ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นโดยเราไม่รู้ตัว และเหมือนกับเป็นจิตใต้สำนึกที่มักจะบอกให้เรา ปิดบังในสิ่งที่เราโกหกออกไป ซึ่งการเอามือปิดปากนั้น อาจจะเป็นในหลายรูปแบบค่ะ เช่น ทั้งมือ หรือ บางนิ้ว หรือแม้กระทั่งการไอและเอามือปิดปาก บางครั้งการนำมือขึ้นมาปิดปาก ก็อาจจะหมายถึงการที่ผู้พูดกำลังปิดบังบางอย่างจากผู้ฟังก็ได้ค่ะ
3.พฤติกรรมเอามือแตะจมูก โดยอาจจะเป็นการเอามือมาถูหรือแตะที่จมูกอย่างรวดเร็ว ซึ่งที่มาที่ไปของการแตะ หรือถูจมูกนั้น มีที่มาที่ไปน่าสนใจค่ะ นั่นคือมีงานวิจัยจาก Smell and Taste Treatment and Research Foundation ที่พบว่าเมื่อเราโกหกนั้น จะมีสารเคมีชนิดหนึ่งชื่อ Catecholamines หลั่งออกมา ทำให้ผนังหรือเนื้อเยื่อภายในจมูก มีอาการพองขึ้น ทำให้เกิดอาการระคายเคืองดังนั้นการแตะหรือถูจมูก จึงเป็นสิ่งที่เรามักจะทำเพื่อลดอาการดังกล่าวค่ะ
4.พฤติกรรมเอามือถูตา ซึ่งวิเคราะห์กันมาแล้วว่าเป็นปฏิกิริยาที่ผู้พูดใช้เพื่อไม่ต้องมองหน้า หรือสบตาผู้ที่เรากำลังโกหกอยู่ บางคนอาจจะไม่ใช้มือถูตา แต่จะเส มองไปทางอื่นแทนค่ะ
5.พฤติกรรมการดึงปกคอเสื้อ มีงานวิจัยที่ค้นพบว่า นอกเหนือจากการระคายเคืองบริเวณจมูกแล้ว บริเวณลำคอก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่มีการระคายเคืองเมื่อเราโกหก เนื่องจากความดันโลหิตที่สูงขึ้น เมื่อเราโกหก ทำให้เกิดเหงื่อออกบริเวณลำคอ ดังนั้นการดึงบริเวณปกคอเสื้อจึงเป็นปฏิกิริยาหนึ่งที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อ เราโกหก
6.พฤติกรรมการดึงหรือจับใบหู แต่มักจะเป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่อเราได้ยินบางอย่างที่เราไม่เชื่อ หรือไม่เห็นด้วย หรือไม่อยากฟัง แต่เราไม่สามารถพูดออกไปได้ตรงๆ ดังนั้นถ้าท่านผู้อ่านกำลังสนทนาอยู่กับผู้ใด และเขาแสดงปฏิกิริยาดังกล่าว แต่ปากกลับแสดงอาการเห็นด้วยกับสิ่งที่เราพูดนั้น ก็อาจจะตั้งข้อสงสัยได้ค่ะว่าผู้ฟังนั้นเห็นด้วย หรือเชื่อในสิ่งที่เรากำลังพูดหรือไม่ค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น